ตอนที่2

คำแนะนำ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คำนี้ข้าพเจ้าเคยได้ยินจากคุณครู พ่อ แม่ คนอื่นๆแต่ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจนัก จนได้รู้จากผู้อำนวยการประจวบ บอกสันเทียะ ท่านได้บอกว่าการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำ



หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ


“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต

รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม

ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง

สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม

แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม

และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”



พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อท่านตรัสเช่นนั้น ทำให้คนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องความพอเพียง ที่คนไทยตอนนั้นรู้สึกว่าเราไม่ค่อยประหยัดเอาเสียเลย จึงเริ่มเดินตามรอยเท้าของพระองค์ท่าน ทำให้รู้ว่า ถ้าเราประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะลดลงประมาณ10,000บาท/เดือน และหากคนไทยประหยัดทุกคน รวมกันประมาณ600,000,000,000บาท จะช่วยประหยัดค่างบประมาณการใช้ในชีวิตประจำวัน และทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น และนำไปใช้ในค่าใช้จ่ายอื่นๆ



เศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy

คำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.

จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่

Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา

เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่…

และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า

เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ

เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒



ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม

ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้

1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนา อย่างเป็นขั้นตอน

3.คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency)จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
oความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณ
oความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ
oการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
oเงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
oเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและสามารถพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้และเทคโนโลยี



“ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ…

จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.

…หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่

ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ

หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน

คือมีทางแก้ไขปัญหาเสมอ

…ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ

แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้

ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้

จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน

พอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่ดำเนินงานได้”

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)


ข้าพเจ้าอยาก เชิญชวน ให้ทุกคนหันมาสนใจหลักแนวคิกเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มีความสุขยิ่งขึ้น และหลังจากนี้ ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงยิ่งยืนนาน ขอให้พระองค์ท่าน ทรงพระเจริญ เนื่องในโอกาสเฉลิมชนมพรรษาครบ80ปี ขอให้คนไทยหันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกันมากขึ้น สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ คุณครูชัยวัฒน์ ฝานชัยภูมิ คุณครูผู้สอน

ที่มา:http://www.inetfoundation.or.th/youngreporter/idea.php?act=show&Id=11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น